วันเสาร์ที่ 10 มกราคม พ.ศ. 2558

บทความ

บทความวิทยาศาสตร์ส าหรับเด็กปฐมวัย
วิทยาศาสตร์ส าหรับเด็กปฐมวัย
ผู้แต่ง
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อัญชลี ไสยวรรณ


วิทยาศาสตร์เป็นการศึกษาเรื่องราวเกี่ยวกับชีวิตของเรา ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์ส่งผล
ให้เราสามารถดูแลสุขภาพได้ดีขึ ้นและมีความเข้าใจเกี่ยวกับการโภชนาการผลจากการแสวงหา
ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ทำให้เรามีความเป็ นอยู่อย่างสะดวกสบาย
เช่นเราจะรู้สึกว่าไม่มีความสุขหากอากาศร้อนมากวิทยาศาสตร์ช่วยให้เรามีพัดลมหรือแอร์ เรา
ได้รับความบันเทิงทางเทคโนโลยีเช่นทีวี วิทยุ เป็ นต้น เราสามารถเก็บข้อมูลได้มากมายเรียกใช้
ข้อมูลประมวลความรู้และสื่อสารข้อมูลไปทั่วโลกได้อย่างรวดเร็วจากเครื่องคอมพิวเตอร์
วิทยาศาสตร์ช่วยให้เราเข้าใจตัวเองและโลกรอบตัวความยิ่งใหญ่และความซับซ้อนของ
ธรรมชาติท าให้เราพยายามอธิบายเพื่อสร้างความเข้าใจและแสวงหาความรู้เกี่ยวกับเรื่องราว
ในจักรวาล ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ทำให้เราเกิดความตระหนักมากขึ ้นและพยายามที่เขียน
อธิบายสิ่งที่เกิดขึ ้นอย่างมีเหตุผล

เด็กเล็กๆมีธรรมชาติที่เป็นผู้ความอยากรู้อยากเห็น ชอบใช้คำถามว่า ทำไม อย่างไรสามารถ
แสวงหาความรู้จากสิ่งต่างๆรอบตัวเขาและเริ่มเข้าใจสภาพแวดล้อมที่เขาอาศัยอยู่ เด็กสามารถ
สังเกตและสื่อสารเกี่ยวเรื่องดิน หิน อากาศและท้องฟ้ า เรียนรู้เกี่ยวกับวัตถุพลังงานจาก
แม่เหล็ก แสงและเสียง เด็กสามารถส ารวจลักษณะของน ้าและความร้อน สิ่งเหล่านี ้ท าให้เด็ก
ปฐมวัยเริ่มการทำงานทางวิทยาศาสตร์ เด็กสามารถแก้ปัญหาต่างๆโดยใช้กระบวนการทาง
วิทยาศาสตร์ในการเรียนรู้เรื่อง อื่นๆได้มากมาย กิจกรรมวิทยาศาสตร์ส่งเสริมพัฒนาการทาง
สติปัญญาโดยทำให้เด็กได้รับความรู้ พัฒนาทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์เช่น การ
สังเกต การจำแนกประเภท การเรียงล าดับ การวัด การคาดคะเน และการสื่อสาร รวมทั้งทักษะ
การแสวงหาความรู้กิจกรรมวิทยาศาสตร์ทำให้เด็กสนใจวัตถุและเหตุการณ์
เด็กเล็กมีวิธีการเรียนรู้คล้ายนักวิทยาศาสตร์สามารถท างานด้วยทักษะการแสวง หาความรู้ 
กิจกรรมวิทยาศาสตร์ส่งเสริมความสามารถในการคิดวิเคราะห์และพัฒนาการทางอารมณ์เช่น
เด็กมีความรู้สึกและเจตคติทางบวก
วิทยาศาสตร์หมายถึงการสืบค้นและอธิบายเหตุการณ์ที่เกิดขึ ้นในธรรมชาติสภาพแวดล้อมและร่างกาย
มนุษย์ หรือวิทยาศาสตร์หมายถึง ความรู้เกี่ยวกับสิ่งต่างๆในธรรมชาติ โดยได้จากการศึกษาค้นคว้าอย่างมี
ขั้นตอนและมีระเบียบแบบแผน ความรู้ของข้อมูลต่างๆ ที่นักวิทยาศาสตร์ค้นพบสามารถเปลี่ยนแปลงได้
เมื่อมีหลักฐานและข้อมูลเพิ่ม เติมขึ้นจากการค้นพบใหม่ที่เป็นปัจจุบันและที่ดีกว่าคือ ตัวอย่างและข้อมูลที่
เกี่ยวกับข้อเท็จจริงที่สามารถทดสอบได้ มีขอบเขต มีระเบียบกฎเกณฑ์ มีการสังเกตการจดบันทึกการ
ตั ้งสมมติฐาน และอื่นๆ วิทยาศาสตร์มีขอบข่ายการศึกษาค่อนข้างกว้างขวาง แต่โดยสรุปแล้ วก็คือ
การศึกษาธรรมชาติของสิ่งต่างๆ ที่อยู่รอบตัวเรา ซึ่งอาศัยกระบวนการค้นคว้าหาความรู้ที่มีขั ้นตอนเป็ น
ระเบียบแบบแผนตั ้งแต่ สมัยโบราณ มนุษย์พยายามเรียนรู้ท าความเข้าใจและอธิบายธรรมชาติของสิ่ง
ต่างๆ ที่อยู่รอบตัวเรา อันได้แก่ พฤติกรรมการเปลี่ยนแปลง และปรากฏการณ์ต่างๆ จนน าไปสู่การก าหนด
หลักการ กฎเกณฑ์ และทฤษฏี อันเป็ นรากฐานของการศึกษาค้นคว้าแก้ปัญหาที่มีความซับซ้อนมากขึ้นเช่น ชาร์ลส์ ดาร์วิน ได้ศึกษาธรรมชาติและพฤติกรรมของสิ่งมีชีวิต แล้ วสรุปเป็ นทฤษฎีวิวัฒนาการ แอล
เบิร์ต ไอน์สไตน์ ได้ศึกษาความธรรมชาติและความสัมพันธ์ของสสารกับพลังงาน จนได้มาเป็ นทฤษฎี
วิวัฒนาการ เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น